ยิ่งกว่าความลับ ที่เกิดมาแล้วต้องรู้ .."สิ่งที่กำหนดชีวิตเรา" (กรรมนิยาม 5)

อิงพุทธศาสนา อ่านดูแล้วก็มีเหตุผลมากๆ

กรรมนิยาม 5 คืออะไร (น่าจะหมายถึง ธรรมนิยาม 5 หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงกรรมนิยามด้วย)

พระองค์ ทรงทราบว่าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยาม เรื่องธรรมนิยามนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้คร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งในภายหลังอรรถกถาจารย์ผู้มีความแตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ คือ

1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุม ความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ
เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยขาวฝรั่ง มักใช้คำว่า คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ อุตุนิยาม

2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือ ช้างเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ย่อมเป็นลูกลิงเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

3. จิตนิยาม* (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นฉบับเฉพาะตัว

4. กรรมนิยาม* (Kamic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วยความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อมตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในลักษณะกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้นพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุด เน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้เอง ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบแล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นก็เพียงเพื่อให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ใน ชีวิต

^
^
ลอกมา
----
ก็จะเห็นว่า ชีวิตเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรม(เพียงอย่างเดียว) แต่ยังขึ้นกับจิตนิยาม( คือ ความคิด ความรู้สึกของเรา สิ่งต่าง ๆ เริ่มต้นจาก ความคิด > ความรู้สึก > อารมณ์ > เจตนารมณ์ > นิสัย ..เริ่มมั่ว) จำได้ในหนังเรื่อง Me MySelf ตอนที่หมอคุยกับนักจิตวิทยาว่า


เราจะแน่ใจได้ไงว่าเราเป็นสิ่งที่เราเป็น หรือเป็นในสิ่งที่เราอยากจะเป็น หรือเป็นในสิ่งที่คนอื่นอยากให้เราเป็น
แต่ในปรัชญาในการใช้ชีวิตเขาบอกว่า คุณค่าของมนุษย์ อยู่ที่เสรีภาพในการเลือก
นั่นก็หมายความว่า เราคิดยังไง ณ ขณะนั้น เราก็จะเป็นสิ่งนั้นไม่ใช่หรือ?


หมอมาเรีย และหมอเกรียงไกร พูดกับแทน

นะ และก็เคยอ่านเจอในหนังสืออีกนั่นแหล่ะ บอกว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฝืนกรรมได้ เพราะกรรมจะสนองเราทางความรู้สึก ถ้าเราไม่รู้สึก กรรมเก่าจะทำอะไรเราไม่ได้ คือการรู้ทันความรู้สึกตัวเอง พูดง่าย ๆ คือมีสตินั่นเอง การรู้ทันความรู้สึกคือ การดึงตัวเองออกจากอารมณ์ หรือความรู้สึกนั้น ๆ ให้ได้ อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าลองทำ ก็จะพอมีทางเป็นไปได้ ลองดึงตัวเองออกจากความรู้สึกดี ๆ คือ เมื่อรู้สึกดี ให้เลิกรู้สึกดี และมองว่า มันเป็นเช่นนี้เอง เมื่อเราทำได้ เราก็จะทำอย่างนี้กับความรู้สึกไม่ดีได้ (ตอนเกิดเรื่องไม่ดีให้คิดว่า เจ้ากรรมนายเวรกำลังหาทางเอาคืนเราอยู่ ถ้าเรารู้ทัน เราก็จะเลิกรู้สึกไม่ดี และวางเฉยต่อเรื่องที่เกิดขึ้น) คือการประยุกต์ใช้ กรรมนิยาม กับ จิตนิยาม ถ้าเล่นเกมส์ก็เหมือนกับว่าจะโกงนิด ๆ (เหอๆ) ส่วนอุตุนิยาม และพีชนิยาม (ข้อ 1,2) ก็เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ที่เราพบเจอมาตั้งแต่เกิด ประสบการณ์ที่เจอตอนเด็ก การเลี้ยงของพ่อแม่ การคบเพื่อน

...และสุดท้าย กฏทั้ง 4 ข้อ จะเป็นเหตุ เป็นผล ซึ่งกันและกัน ดังกฎข้อที่ 5 ธรรมนิยาม...



สำหรับผู้ที่เคยถามตัวเองว่า สิ่งที่เกิดกับเราเวลานี้ ตอนนี้ มันเกิดจาก "เวรกรรม" หรือ

ก็ตอบได้แล้วว่า "ใช่" แต่ !! ไม่ทั้งหมด มันมีปัจจัยอื่นด้วย

แต่ก็บอกไปแล้วนะ มนุษย์ฝืนกรรม(และปัจจัยอื่นๆ)ได้ โดยการคิดบวกเข้าไว้ ^^"

ง่วงนอน ตี 1:49 นาที วันที่ 18 พย. 52 วันนี้จะมีฝนดาวตกด้วย

1 ความคิดเห็น:

SaiSmiling กล่าวว่า...

โอ๊ะโอ
เพราะคิดอย่างนี้นี่เองงงงงงงงง
นายถึงเป็นคนมองโลกในแง่(โคตร)ดี และก็ ยิ้ม ตลอดดดดด
คิด + + + + + + + + + + +

^^ เดี๋ยวเราลองทำมั่งดีกว่า

แสดงความคิดเห็น

บทความทั้งหมด

เจ้าของ Blog

Thailand
หวัดดี ผมชื่อเดช แห่ะๆ ^__^
test

เนื้อเพลง lyrics.in.th