มองธรรมะ แล้วย้อนมองตัวเอง...

จาก ->พร 4 ข้อของท่าน ว.วชิรเมธี

1. อย่าเป็นนักจับผิด

คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่าหลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
"กิเลส ฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก" คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส "จิตประภัสสร(จิตผ่องใส)" ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี
"แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข"
--------------------------------
1. ธรรมดาของคนเราแล้ว เราว่า คนเราก็มักจะคิดเข้าข้างตัวเองเสมอแหล่ะ แล้วก็ชอบมองว่าคนอื่นไม่ดี บางคนคิดว่าตัวเองดีเลิศกว่าคนอื่น กูทำอะไรแม่งผิดทุกอย่างแหล่ะ สาด อยากจะถามว่า มึงเป็นเหี้ยไรเนี่ย ไอควาย สัดเอ๊ยย มึงไม่ได้ดีไปกว่าใครหรอก สัด <-- ออกเสียงสั้น ๆ หนักๆ

2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
"แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน"
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า "เจ้ากรรมนายเวร"
ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้อง ถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น "ไฟสุมขอน(ไฟเย็น)"
เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราได้ โดยใช้วิธี "แผ่เมตตา"
หรือ ซื้อโคมลอย มา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป
--------------------------------
2. เรามองว่า การแข่งขัน ทำให้เกิดการพัฒนานะ อย่างเช่น ป่านนี้ถ้ามี AIS เจ้าเดียว คงยังต้องใช้มือถือนาทีล่ะ 5 บาทอยู่มั๊ง สาดด (โคตรขูดเลือดกุเลย)<-- ค่อนข้างจะไม่ตรงประเด็นอิจฉา

3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ "ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น"
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกสัมภาระต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ "อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน"
"อยู่กับปัจจุบันให้เป็น" ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี "สติ" กำกับตลอดเวลา
-------------------------------
3. อดีตทำอะไรเราไม่(ค่อย)ได้ ภายนอกดูเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ... แต่สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นคือ ความมองโลกในแง่ร้ายที่เหลืออยู่ (จิตใต้สำนึกไม่เคยหลับ มันคอยบันทึกสิ่งที่เราเคยพบเห็น สัมผัส พบเจอ ฯลฯ ตลอดเวลา.. จากหนังสืออะไรไม่รู้ จำไม่ได้) เคยได้ยินมั้ย คนที่มองโลกในแง่ดีจะมีชีวิตที่มีความสุข แต่ประสบการณ์มันมีทั้งดีและร้าย คนเรามักจำเรื่องร้าย ๆ ได้ดีกว่าเรื่องดีๆ พอเจอเหตุการณ์เหมือนที่เคยเจอ จะเอาผลของเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาเปรียบเทียบ ... และสิ่งที่เกิดหลังจากนั้นคือ ความกลัว...

4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
"ตัณหา" ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่ เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ
ธรรมชาติของตัณหา คือ "ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม" ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่คุณค่าเทียม
เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่ คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
-------------------------------
4. เราก็เป็นพวกวัตถุนิยมนะ แต่ก็นะ ไม่ใช่เด็ก ๆ แล้ว โตมาหลายปีก็พอจะรู้แล้วแหล่ะ ว่าอะไรเหมาะไม่เหมาะ ถ้ามองอีกมุมนึง มันคือการให้รางวัลตัวเอง ตั้งแต่เกิดมาเราซื้อของขวัญให้คนอื่นตั้งหลายอย่าง หลายคน โดยไม่ต้องคิด แล้วถ้าจะซื้อของให้ตัวเองบ้างล่ะ? การที่มีอะไรโก้หรู ถ้ามองอีกมุม(อีกแล้ว) ไม่ใช่เพื่อเอาไว้โชว์คนอื่น แต่เพื่อความมั่นใจของตัวเองต่างหากล่ะ :p <-- ข้ออ้างสุดๆ

..เราไม่อายหรอก ใช้มือถือ รึว่าอะไรเก่า ๆ (อายเพื่อ?) อย่างน้อยมันก็ดูเป็นตัวเองดี

เราต้องถามตัวเองว่า "เกิดมาทำไม"
"คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน"
ตามหา " แก่น " ของชีวิตให้เจอ
คำว่า "พอดี" คือถ้า "พอ" แล้วจะ"ดี"
รู้จัก "พอ" จะมีชีวิตอย่างมีความสุข
----------------------------------
คำว่า "พอดี" มันลึกซึ้งมากเลยว่ะ ความพอดี ของแต่ละคนน่ะ มันไม่เท่ากัน ความพอดีกับเศรษฐีพันล้าน กะความพอดีของคนชั้นกลาง,มนุษย์เงินเดือน,นักศึกษา,นักเรียน มันก็ไม่เท่ากัน ไม่รู้จะเขียนอะไรต่อ คิดไม่ออก เหอๆ

สรุปว่า สาระก็ไม่มี ตามเคย

1 ความคิดเห็น:

SaiSmiling กล่าวว่า...

สาระเยอะแยะตะหากกกกกกกกกกกกกก ^_^

แสดงความคิดเห็น

บทความทั้งหมด

เจ้าของ Blog

Thailand
หวัดดี ผมชื่อเดช แห่ะๆ ^__^
test

เนื้อเพลง lyrics.in.th